ติดตามข้อมูลทางเฟสบุ๊คได้ที่นี่

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข้อต่อเหล็กเส้นเชิงกล Coupler

เป็นอย่างไรมาดูกันครับ
ข้อต่อเหล็กเส้นเชิงกล (Coupler joint mechanical) คือ ข้อต่อโลหะแบบเกลียวเหมือนการต่อท่อโลหะ เพื่อทดแทนการต่อทาบสำหรับเหล็กที่มีขนาดใหญ่
การต่อเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตแบบปกติใช้การทาบผูกลวด ระยะทาบอยู่ที่ 40 และ 50 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นเหล็ก ใช้ในงานเหล็กขนาดไม่เกิน 25 มม. (การทาบเชื่อมใช้ในเหล็กที่ใหญ่กว่า 25 มม. เพราะจะยึดเหล็กที่มีขนาดใหญ่ไม่ให้เลื่อนได้ดีกว่าการทาบผูกลวด)
ส่วนงานก่อสร้างที่มีการใช้เหล็กขนาดใหญ่จำนวนมาก การต่อแบบทาบไม่เหมาะสม เนื่องจากจุดต่อทาบแบบปกติจะขวางการไหลของคอนกรีต อีกทั้งการทาบจะเสียเศษเหล็กมากและอาจเกิดการเลื่อนตัวได้
ดังนั้น ข้อต่อเชิงกล (Coupler joint mechanical) จึงเป็นทางเลือกในการต่อเหล็กเสริมเพื่อให้ทำงานสะดวกลดปัญหาในการทำการก่อสร้างได้
หมายเหตุ การเลือกใช้จุดต่อ (Coupler joint) ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ผู้ทำการก่อสร้างควรศึกษารายละเอียดการติดตั้งข้อต่อเชิงกลก่อนการทำงานนะครับ















วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบ่มคอนกรีต

ทำอย่างไร มาดูกันครับ

การบ่มคอนกรีต (Concrete curing) คือ การรักษาความชื้นในเนื้อคอนกรีตช่วงระหว่างคอนกรีตกำลังแข็งตัว ป้องกันการแตกร้าว
มีหลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสม
1.รดน้ำ เช้า กลางวัน เย็น
2.คลุมกระสอบแล้วรดน้ำ เช้า เย็น
4.ขังน้ำและเติม เช้า เย็น
5.รดน้ำแล้วคลุมพลาสติก ครั้งเดียว
6.ทาหรือพ่นสารเคมีมากกว่า 1 เที่ยว ครั้งเดียว
ระยะเวลาในการบ่ม ( มาตรฐาน ว.ส.ท. 1014-40 , 2540)
1.ซีเมนต์ประเภท 1 (ทั่วไป) บ่มอย่างน้อย 7 วัน
2.ซีเมนต์ประเภท 3 (ให้กำลังอัดเร็ว) บ่มอย่างน้อย 3 วัน
หากไม่บ่มคอนกรีต อาจเกิดร้อยร้าวซึ่งจะทำให้กำลังคอนกรีตต่ำกว่าที่ต้องการ และมีโอกาสที่ความชื้นจะซึมผ่านเข้าเนื้อคอนกรีตได้ง่าย ส่งผลให้อายุการใช้งานของคอนกรีตน้อยลงตามไปด้วยครับ
สรุป การบ่มคอนกรีต (Concrete curing) มีความสำคัญต่อการพัฒนากำลังของคอนกรีตให้สมบูรณ์ อย่าละเลยและเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยนะครับ













การทดสอบแรงดันน้ำประปาในเส้นท่อ

ทำอย่างไร มาดูกันครับ

การทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อ (Plumbing pressure testing) เพื่อตรวจสอบการรั่วซึม (ยกเฉพาะกรณีระบบน้ำประปาสำหรับอาคาร)
1.ให้เติมน้ำเต็มเส้นท่อทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ
2.ให้ทดสอบโดยใช้แรงดันที่ 1.5 เท่าของแรงดันใช้งาน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 100 psi (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (หากพบการรั่วซึมให้อุดแล้วเริ่มทดสอบใหม่อีกครั้งตามกระบวนการ)
3.เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ให้ปล่อยน้ำสะอาดเข้าสู่เส้นท่อจนเต็มเพื่อล้างสิ่งสกปรกและไล่อากาศ
4.ทำความสะอาดโดยเติมน้ำผสมคลอรีน (Calcium Hypochlorite) ปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเส้นท่อแล้วปิดไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
5.เมื่อครบระยะเวลาแล้วล้างเส้นท่อให้คลอรีนเหลือต้องน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
หมายเหตุ การทำความสะอาดนั้นต้องมั่นใจว่าจะไม่มีงานแก้ไขใดๆเกิดขึ้น ไม่งั้นต้องเริ่มกระบวนการใหม่ทั้งหมด (ผู้รับจ้างก่อสร้างขาดทุนแน่ๆครับ)


เหล็กเส้นกลม 1 เส้น

ตัดและดัดปลอกได้เท่าไหร่ มาดูกันครับ


เหล็กเส้นกลมขนาด 6 มม. จำนวน 1 เส้น ยาว 10 เมตร
1.ปลอกสำหรับคานขนาด 20 x 40 ซม.
ตัด-ดัดแบบ 90 องศา สำหรับงานทั่วไป
- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 91 ซม. ได้ 10 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 103 ซม. ได้ 9 ปลอก
ตัด-ดัดแบบ 135 องศา สำหรับงานเฉพาะ- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 93 ซม. ได้ 10 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 105 ซม. ได้ 9 ปลอก
2.ปลอกสำหรับเสาขนาด 20 x 20 ซม.
ตัด-ดัดแบบ 90 องศา สำหรับงานทั่วไป
- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 51 ซม. ได้ 19 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 63 ซม. ได้ 15 ปลอก
ตัด-ดัดแบบ 135 องศา สำหรับงานเฉพาะ
- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 53 ซม. ได้ 18 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 65 ซม. ได้ 15 ปลอก
(ความยาว - ระยะยืด = ความยาวที่ตัดเหล็ก)
สรุป การตัด-ดัด 90 หรือ 135 องศา มีการเพิ่มลดระยะของการตัดและดัดต่างกันไม่มาก หากสามารถดัดแบบ 135 องศาได้จะเป็นการเพิ่มการรับแรงให้กับชิ้นส่วนโครงสร้างได้นะครับ