ติดตามข้อมูลทางเฟสบุ๊คได้ที่นี่

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข้อต่อเหล็กเส้นเชิงกล Coupler

เป็นอย่างไรมาดูกันครับ
ข้อต่อเหล็กเส้นเชิงกล (Coupler joint mechanical) คือ ข้อต่อโลหะแบบเกลียวเหมือนการต่อท่อโลหะ เพื่อทดแทนการต่อทาบสำหรับเหล็กที่มีขนาดใหญ่
การต่อเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตแบบปกติใช้การทาบผูกลวด ระยะทาบอยู่ที่ 40 และ 50 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นเหล็ก ใช้ในงานเหล็กขนาดไม่เกิน 25 มม. (การทาบเชื่อมใช้ในเหล็กที่ใหญ่กว่า 25 มม. เพราะจะยึดเหล็กที่มีขนาดใหญ่ไม่ให้เลื่อนได้ดีกว่าการทาบผูกลวด)
ส่วนงานก่อสร้างที่มีการใช้เหล็กขนาดใหญ่จำนวนมาก การต่อแบบทาบไม่เหมาะสม เนื่องจากจุดต่อทาบแบบปกติจะขวางการไหลของคอนกรีต อีกทั้งการทาบจะเสียเศษเหล็กมากและอาจเกิดการเลื่อนตัวได้
ดังนั้น ข้อต่อเชิงกล (Coupler joint mechanical) จึงเป็นทางเลือกในการต่อเหล็กเสริมเพื่อให้ทำงานสะดวกลดปัญหาในการทำการก่อสร้างได้
หมายเหตุ การเลือกใช้จุดต่อ (Coupler joint) ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ผู้ทำการก่อสร้างควรศึกษารายละเอียดการติดตั้งข้อต่อเชิงกลก่อนการทำงานนะครับ















วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบ่มคอนกรีต

ทำอย่างไร มาดูกันครับ

การบ่มคอนกรีต (Concrete curing) คือ การรักษาความชื้นในเนื้อคอนกรีตช่วงระหว่างคอนกรีตกำลังแข็งตัว ป้องกันการแตกร้าว
มีหลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสม
1.รดน้ำ เช้า กลางวัน เย็น
2.คลุมกระสอบแล้วรดน้ำ เช้า เย็น
4.ขังน้ำและเติม เช้า เย็น
5.รดน้ำแล้วคลุมพลาสติก ครั้งเดียว
6.ทาหรือพ่นสารเคมีมากกว่า 1 เที่ยว ครั้งเดียว
ระยะเวลาในการบ่ม ( มาตรฐาน ว.ส.ท. 1014-40 , 2540)
1.ซีเมนต์ประเภท 1 (ทั่วไป) บ่มอย่างน้อย 7 วัน
2.ซีเมนต์ประเภท 3 (ให้กำลังอัดเร็ว) บ่มอย่างน้อย 3 วัน
หากไม่บ่มคอนกรีต อาจเกิดร้อยร้าวซึ่งจะทำให้กำลังคอนกรีตต่ำกว่าที่ต้องการ และมีโอกาสที่ความชื้นจะซึมผ่านเข้าเนื้อคอนกรีตได้ง่าย ส่งผลให้อายุการใช้งานของคอนกรีตน้อยลงตามไปด้วยครับ
สรุป การบ่มคอนกรีต (Concrete curing) มีความสำคัญต่อการพัฒนากำลังของคอนกรีตให้สมบูรณ์ อย่าละเลยและเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยนะครับ













การทดสอบแรงดันน้ำประปาในเส้นท่อ

ทำอย่างไร มาดูกันครับ

การทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อ (Plumbing pressure testing) เพื่อตรวจสอบการรั่วซึม (ยกเฉพาะกรณีระบบน้ำประปาสำหรับอาคาร)
1.ให้เติมน้ำเต็มเส้นท่อทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ
2.ให้ทดสอบโดยใช้แรงดันที่ 1.5 เท่าของแรงดันใช้งาน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 100 psi (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (หากพบการรั่วซึมให้อุดแล้วเริ่มทดสอบใหม่อีกครั้งตามกระบวนการ)
3.เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ให้ปล่อยน้ำสะอาดเข้าสู่เส้นท่อจนเต็มเพื่อล้างสิ่งสกปรกและไล่อากาศ
4.ทำความสะอาดโดยเติมน้ำผสมคลอรีน (Calcium Hypochlorite) ปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเส้นท่อแล้วปิดไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
5.เมื่อครบระยะเวลาแล้วล้างเส้นท่อให้คลอรีนเหลือต้องน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
หมายเหตุ การทำความสะอาดนั้นต้องมั่นใจว่าจะไม่มีงานแก้ไขใดๆเกิดขึ้น ไม่งั้นต้องเริ่มกระบวนการใหม่ทั้งหมด (ผู้รับจ้างก่อสร้างขาดทุนแน่ๆครับ)


เหล็กเส้นกลม 1 เส้น

ตัดและดัดปลอกได้เท่าไหร่ มาดูกันครับ


เหล็กเส้นกลมขนาด 6 มม. จำนวน 1 เส้น ยาว 10 เมตร
1.ปลอกสำหรับคานขนาด 20 x 40 ซม.
ตัด-ดัดแบบ 90 องศา สำหรับงานทั่วไป
- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 91 ซม. ได้ 10 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 103 ซม. ได้ 9 ปลอก
ตัด-ดัดแบบ 135 องศา สำหรับงานเฉพาะ- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 93 ซม. ได้ 10 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 105 ซม. ได้ 9 ปลอก
2.ปลอกสำหรับเสาขนาด 20 x 20 ซม.
ตัด-ดัดแบบ 90 องศา สำหรับงานทั่วไป
- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 51 ซม. ได้ 19 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 63 ซม. ได้ 15 ปลอก
ตัด-ดัดแบบ 135 องศา สำหรับงานเฉพาะ
- ติดดิน ระยะหุ้ม 4 ซม. ตัดประมาณ 53 ซม. ได้ 18 ปลอก
- ไม่ติดดิน ระยะหุ้ม 2.5 ซม. ตัดประมาณ 65 ซม. ได้ 15 ปลอก
(ความยาว - ระยะยืด = ความยาวที่ตัดเหล็ก)
สรุป การตัด-ดัด 90 หรือ 135 องศา มีการเพิ่มลดระยะของการตัดและดัดต่างกันไม่มาก หากสามารถดัดแบบ 135 องศาได้จะเป็นการเพิ่มการรับแรงให้กับชิ้นส่วนโครงสร้างได้นะครับ







วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

เหล็กข้ออ้อยมีเกลียวในตัว

เป็นอย่างไร มาดูกันครับ

เทคโนโลยีติดตั้งเหล็กเสริมของคอนกรีตพัฒนา โดยเปลี่ยนจากการต่อทาบเป็นการต่อชนด้วยข้อต่อเหล็กคุณภาพสูง (Coupler joint mechanical)

การต่อเหล็กเส้นจะต้องทำเกลียวที่ปลายโดยตัดเหล็กเส้นตามความยาวที่ต้องการแล้วใช้เครื่องจักรขึ้นรูปเกลียว

การต่อเหล็กด้วยข้อต่อเชิงกลแบบเดิมยุ่งยากเสียเวลามากทำให้การก่อสร้างไม่คล่องตัว จึงมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่โดยการทำเกลียวลงในเส้นเหล็กโดยตรงจากโรงงาน และผลิตข้อต่อเชิงกลรูปแบบเฉพาะเพื่อใช้งานร่วมกันในชื่อเรียกว่า "เหล็กข้ออ้อยเกลียวในตัว" หรือ "Deformed bars spiral finished"

เหล็กข้ออ้อยเกลียวในตัว เมื่อทำการตัดแล้วสามารถต่อกับข้อต่อเชิงกลได้ทันทีไม่เสียเศษเหล็กและไม่เสียเวลาขนย้ายเหล็กไปตัดและขึ้นรูปเกลียวในโรงงาน ทำให้งานติดตั้งเหล็กเสริมรวดเร็วขึ้นลดระยะเวลาการก่อสร้างโดยรวมได้

หมายเหตุ การใช้ข้อต่อเชิงกลไม่ควรต่อในจุดที่มีแรงดึงหรือเฉือนมากที่สุดมาตรฐานเดียวกับการต่อทาบนะครับ


บบปกติต้องนำไปขึ้นรูปเกลียว
การต่อเชิงกลโดยข้อต่อปกติ


เหล็กข้ออ้อยเกลียวในตัว (Deformed bars spiral finished) ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.24/2548 (ชั้นคุณภาพ SD-40 และ SD-50)


แบ่งลักษณะการต่อเหล็กเส้น 3 รูปแบบ
แบบที่ 1 เหล็กที่นำมาต่อหมุนได้ปกติ
แบบที่ 2 เหล็กที่นำมาต่อหมุนได้เล็กน้อย
แบบที่ 3 เหล็กที่นำมาต่อหมุนไม่ได้
อ้างอิงรูปภาพจาก
http://www.bar-us.com/en/wp-content/uploads/2012/04/benefits-of-mechanical-splicing-2.png
http://incon.ca/wp-content/uploads/2016/06/threaded-coupler-configuration-2.jpg
http://1.bp.blogspot.com/-ojOjF3QpwP4/UgYhNkZrKEI/AAAAAAAAAiI/VBjX1Obcq6w/s1600/1.jpg
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQq7hUwn9GO7Q8ioWWWkQO9hoBOR4p0wiPAZf3vYAff8fv4vyaZug
http://www.novocon.co.th/images/img_2205.png
http://www.novocon.co.th/images/img_2210-u2139.png
http://www.novocon.co.th/images/img_2203-u2949.png
http://www.novocon.co.th/images/untitled-20.jpg
http://www.novocon.co.th/images/untitled-22.jpg
http://www.novocon.co.th/images/untitled-21.jpg

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คอนกรีตสด 1 ลูกบาศก์เมตร

ใช้ทำอะไรได้บ้างมาดูกันครับ


คอนกรีตสด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร มีปริมาตรเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิวบิกเมตร cubic meter) ส่วนผสม คือ ซีเมนต์ + ทราย + หิน + น้ำ (มีน้ำหนักโดยประมาณ 2,400 กิโลกรัม หรือ 2.4 ตัน)


1.สามารถใช้เทคาน
- ขนาด 0.15 x 0.30 ม. ได้ยาว 22.22 เมตร (ปริมาตร 0.045 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 108 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.40 ม. ได้ยาว 12.5 เมตร (ปริมาตร 0.080 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 192 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.50 ม. ได้ยาว 10 เมตร (ปริมาตร 0.10 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 240 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.60 ม. ได้ยาว 8.33 เมตร (ปริมาตร 0.12 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 288 กก./ม.)


2.สามารถใช้เทพื้น
- หนา 0.08 ม. ได้พื้นที่ 12.5 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.08 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 192 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.10 ม. ได้พื้นที่ 10 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.10 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 240 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.15 ม. ได้พื้นที่ 6.66 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.15 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 360 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.20 ม. ได้พื้นที่ 5 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.20 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 480 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.25 ม. ได้พื้นที่ 4 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.25 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 600 กก./ตร.ม.)


3.สามารถใช้เทเสา
- ขนาด 0.15 x 0.15 ม. ได้ยาว 44.44 เมตร (ปริมาตร 0.0225 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 54 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.20 ม. ได้ยาว 25 เมตร (ปริมาตร 0.04 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 96 กก./ม.)
- ขนาด 0.25 x 0.25 ม. ได้ยาว 16 เมตร (ปริมาตร 0.0625 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 150 กก./ม.)
- ขนาด 0.30 x 0.30 ม. ได้ยาว 11.11 เมตร (ปริมาตร 0.09 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 216 กก./ม.)


หมายเหตุ คอนกรีตสดเมื่อผสมแล้วนำมาใช้งานอย่าลืมเผื่อค่าความศูนย์เสียประมาณ 5% จากการลำเลียงไปเทด้วยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้าง

อะไรมีส่วนสำคัญ มาดูกันครับ
การแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้าง (Deflection of structure members) ชิ้นส่วนโครงสร้างหลัก คาน เสา เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่รับน้ำหนักของอาคาร การแอ่นตัวของชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นต้องไม่มากเกินค่าที่ยอมให้เพื่อความมั่นคงของโครงสร้างอาคารความสัมพันธ์ของ การแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้างเกิดจาก (แรงกระทำ x ความยาววัสดุ) / (โมดูลัสความยืดหยุ่นของวัสดุ x โมเมนต์ความเฉื่อย)
ชิ้นส่วนโครงสร้างเมื่อมีแรงกระทำจะเกิดการแอ่นตัว การโก่งตัว พิจารณาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าหากเกิดแรงกระทำที่เท่ากัน ชิ้นส่วนมีความยาวเท่ากัน วัสดุเป็นชนิดเดียวกัน เหลือตัวแปสำคัญเพียงตัวเดียวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ โมเมนต์ความเฉื่อยหรือ “Moment of Inertia” หรือ “I” นั่นเอง การเพิ่มโมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of Inertia) ให้ชิ้นส่วนทำอย่างไร
สรุป โมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of Inertia) เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยต้านทานการแอ่น การโก่ง เพื่อให้ชิ้นส่วนโครงสร้างสามารถมีช่วงความยาวหรือความสูงที่มากขึ้นครับ
การแอ่น การโก่ง นั้นจะมีค่าน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับโมเมนต์ความเฉื่อย ถ้าเราเพิ่มค่า I ให้มากขึ้นการแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้างจะลดน้อยลง กลับกันหากค่าโมเมนต์ความเฉื่อยมีน้อย การต้านทานการแอ่นหรือโก่งก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
1.ถ้าต้องการต้านทางการแอ่น การโก่ง ในแนวดิ่งต้องเพิ่มความลึกของชื้นส่วนให้มากขึ้น
2.ถ้าต้องการต้านทานการแอ่น การโก่ง ในด้านข้าง ต้องเพิ่มความกว้างของชิ้นส่วนมากขึ้น
หมายเหตุ โมเมนต์ความเฉื่อยสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มความกว้างหรือความยาวในทิศทางตั้งฉากกับแรงกระทำชิ้นส่วนโครงสร้างยังสามารถทำให้กลวงได้เพื่อลดน้ำหนักของโครงสร้างได้ด้วยนะครับ


อ้างอิงรูปภาพ
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/
https://8020.net/
https://ecourses.ou.edu/
https://upload.wikimedia.org/
https://qph.ec.quoracdn.net/
http://www.learneasy.info/
http://image.slidesharecdn.com/
http://www.setareh.arch.vt.edu/
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/
https://ecourses.ou.edu/
https://courses.cit.cornell.edu/
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/
http://www.setareh.arch.vt.edu/