ติดตามข้อมูลทางเฟสบุ๊คได้ที่นี่

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การล้มพับทางด้านข้างของโครงสร้างเหล็ก


ป้องกันอย่างไร มาดูกันครับ
การล้มพับทางด้านข้างของโครงสร้างเหล็ก (Side sway of steel structure) เกิดจากโครงสร้างเหล็กสูญเสียเสถียรภาพจากแรงกระทำทางด้านข้างมากเกินกว่าค่าที่ยอมให้ เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว หรือแรงด้างข้างอื่นๆ เป็น 1 ใน 4 ลักษณะการวิบัติที่ทำให้อาคารสามารถพังลงได้

จุดสำคัญที่ทำให้โครงสร้างล้มพับ คือ อัตราส่วนความชะลูดประสิทธิผล (effective slenderness ratio) ของเสาอาคารมีค่าสูงเกินกว่าค่าที่ยอมให้ (ขนาดหน้าตัดเสาเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของเสา) และระยะช่วงเสาที่ห่าง ทำให้โครงสร้างต้านทานแรงทางด้านข้างได้น้อย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างเหล็ก ที่ไม่มีคานกลางยึดโยง ไม่มีผนัง (หรือมีแต่ความแข็งแรงของผนังน้อย หรืออาจล้มพับขณะติดตั้งเนื่องจากชิ้นส่วนรับแรงไม่มีการค้ำยัน ซึ่งเกิดบ่อยครั้ง)

ป้องกันการล้มพับทางด้านข้างของโครงสร้างเหล็กได้โดยชิ้นส่วน

1.จุดต่อยึดฐานรากตอม่อกับโคนเสาเหล็ก Bolt ยึดระหว่างเสาเหล็กต้องมีขนาดและความยาวเพียงพอที่จะรับแรงดึงไม่ให้ Bolt ขาด และแรงถอนของ Bolt ออกจากคอนกรีต รวมถึงความหนาของแผ่นเหล็กรองโคนเสาต้องหนาเพียงพอต่อการบิดตัวจากการเอียงล้มของเสาด้วย

2.จุดต่อยึดระหว่างโคนเสากับแผ่นเหล็กรองโคนเสา ต้องติดตั้งแผ่นเหล็กกันเสาล้ม (Stiffener plate column) ช่วยในการพลิกตัวของเสาเหล็ก หรือการล้มของเสาเหล็ก

3.จุดต่อยึดโยงโคนเสาเหล็กกับปลายเสาเหล็กอีกต้น ต้องติดตั้งคานหรือเส้นเหล็กทะแยงยึดโยง (Side bracing) อย่างน้อย 1 ช่วงเสา บริเวณช่วงมุมหัวอาคารหรือท้ายอาคาร (หากอาคารยาวมากให้เพิ่มเติมช่วงกลาง)

4.จุดยึดต่อปลายหัวเสาเหล็กกับคานหลังคาโครงถักหรือเฟรม ต้องติดตั้งเส้นเหล็กแนวนอน (Tie rod) ทะแยงยึดโยงระหว่างปลายหัวเสาอย่างน้อย 1 ช่วงเสา บริเวณช่วงมุมหัวอาคารหรือท้ายอาคาร (หากอาคารยาวมากให้เพิ่มเติมช่วงกลาง)

5.โครงสร้างแบบเฟรมเหล็ก (Frame structure) จุดยึดต่อปลายหัวเสาเหล็กกับคานหลังคา ต้องติดตั้งแผ่นเหล็กหรือเส้นเหล็กหรือคานเหล็กที่เรียกว่า ข้อต่อค้ำยัน (Haunch joint) ทุกจุด

หมายเหตุ การล้มพับทางด้านข้าง (Side sway) ไม่ได้เกิดเพียงแต่เฉพาะโครงสร้างเหล็กเท่านั้น ยังสามารถเกิดขึ้นกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กได้ด้วยครับ



แรงกดจากด้านบน


แรงดันด้านข้าง หรือแรงยกขึ้นด้านบน












อ้างอิงรูปภาพจาก
https://www.osha.gov/
http://www.mgsarchitecture.in/
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/
http://fgg-web.fgg.uni-lj.si/
https://doloffice.files.wordpress.com/
http://fgg-web.fgg.uni-lj.si/
http://images.slideplayer.com/
http://expeditionworkshed.org/
http://sweets.construction.com/
http://www.primecon.co.za/
http://www.cumbriasteelbuildings.co.uk/
http://mypageblog.com/
http://www.steelconstruction.info/
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/
http://www.steelconstruction.info/
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/
https://i.ytimg.com/
https://www.sheds.com.au/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น