เสาเข็มคอนกรีตเป็นส่วนสำคัญของการสร้างอาคาร ลักษณะของเสาเข็มคอนกรีตเมื่อผลิตแล้วเสร็จต้องทำการลำเลียงขนส่งเข้าสู่หน่วยงานก่อสร้าง การลำเลียงวางในแนวราบหรือแนวเอียงต้องมีหมอนรองเสาเข็มตรงตามจุดที่ถูกต้อง เพราะเสาเข็มจะเกิดพฤติกรรมแบบคาน คือ "เกิดการแอ่นตัว" ซึ่งค่าการแอ่นตัวของเสาเข็มต้องไม่เกินค่าที่ยอมให้ (L/360) เพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวในเสาเข็มคอนกรีต
ระยะยก มี 3 แบบ
ระยะยกเสาเข็มแบบ 1 จุด เพื่อทำการตอกโดยปั้นจั่น
ระยะยกเสาเข็มแบบ 2 จุด เพื่อการขนส่ง
ระยะยกเสาเข็มแบบ 3 จุด เพื่อการขนส่ง (กรณีเสาเข็มยาวมาก พบเห็นได้น้อย)
ระยะวาง มี 2 แบบ
ระยะวางเสาเข็มแบบ 2 จุด ด้วยไม้หมอน
ระยะวางเสาเข็มแบบ 3 จุด ด้วยไม้หมอน
หมายเหตุ การทำงานในการยก หรือ วาง เสาเข็มคอนกรีตในหน้างานอาจใช้การประมาณระยะได้ครับดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรระวังในการทำงานเสาเข็ม เพราะเสาเข็มคอนกรีตมีน้ำหนักมากขนย้ายลำบากต้องใช้เครื่องจักรกล เสาเข็มคอนกรีตควรมีการวางแผนเพื่อใช้งานในตำแหน่งเหมาะสมไม่กีดขวางการทำงานทั้งการตอกและการทำงานส่วนอื่นๆ ตำแหน่งการวางเสาเข็มคอนกรีตพื้นรองรับต้องแข็งแรงเพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความชำรุดและอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือการนำเสาเข็มใหม่เข้า
อ้างอิงรูปภาพ
http://zonglian.com.my/
http://www.stresscon.com.my/
http://www.pci.org/
http://4.bp.blogspot.com/
http://www.expertsmind.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น