ติดตามข้อมูลทางเฟสบุ๊คได้ที่นี่

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คอนกรีตสด 1 ลูกบาศก์เมตร

ใช้ทำอะไรได้บ้างมาดูกันครับ


คอนกรีตสด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร มีปริมาตรเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิวบิกเมตร cubic meter) ส่วนผสม คือ ซีเมนต์ + ทราย + หิน + น้ำ (มีน้ำหนักโดยประมาณ 2,400 กิโลกรัม หรือ 2.4 ตัน)


1.สามารถใช้เทคาน
- ขนาด 0.15 x 0.30 ม. ได้ยาว 22.22 เมตร (ปริมาตร 0.045 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 108 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.40 ม. ได้ยาว 12.5 เมตร (ปริมาตร 0.080 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 192 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.50 ม. ได้ยาว 10 เมตร (ปริมาตร 0.10 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 240 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.60 ม. ได้ยาว 8.33 เมตร (ปริมาตร 0.12 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 288 กก./ม.)


2.สามารถใช้เทพื้น
- หนา 0.08 ม. ได้พื้นที่ 12.5 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.08 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 192 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.10 ม. ได้พื้นที่ 10 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.10 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 240 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.15 ม. ได้พื้นที่ 6.66 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.15 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 360 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.20 ม. ได้พื้นที่ 5 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.20 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 480 กก./ตร.ม.)
- หนา 0.25 ม. ได้พื้นที่ 4 ตารางเมตร (ปริมาตร 0.25 ลบ.ม./ตร.ม. น้ำหนัก 600 กก./ตร.ม.)


3.สามารถใช้เทเสา
- ขนาด 0.15 x 0.15 ม. ได้ยาว 44.44 เมตร (ปริมาตร 0.0225 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 54 กก./ม.)
- ขนาด 0.20 x 0.20 ม. ได้ยาว 25 เมตร (ปริมาตร 0.04 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 96 กก./ม.)
- ขนาด 0.25 x 0.25 ม. ได้ยาว 16 เมตร (ปริมาตร 0.0625 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 150 กก./ม.)
- ขนาด 0.30 x 0.30 ม. ได้ยาว 11.11 เมตร (ปริมาตร 0.09 ลบ.ม./ม. น้ำหนัก 216 กก./ม.)


หมายเหตุ คอนกรีตสดเมื่อผสมแล้วนำมาใช้งานอย่าลืมเผื่อค่าความศูนย์เสียประมาณ 5% จากการลำเลียงไปเทด้วยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้าง

อะไรมีส่วนสำคัญ มาดูกันครับ
การแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้าง (Deflection of structure members) ชิ้นส่วนโครงสร้างหลัก คาน เสา เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่รับน้ำหนักของอาคาร การแอ่นตัวของชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นต้องไม่มากเกินค่าที่ยอมให้เพื่อความมั่นคงของโครงสร้างอาคารความสัมพันธ์ของ การแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้างเกิดจาก (แรงกระทำ x ความยาววัสดุ) / (โมดูลัสความยืดหยุ่นของวัสดุ x โมเมนต์ความเฉื่อย)
ชิ้นส่วนโครงสร้างเมื่อมีแรงกระทำจะเกิดการแอ่นตัว การโก่งตัว พิจารณาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าหากเกิดแรงกระทำที่เท่ากัน ชิ้นส่วนมีความยาวเท่ากัน วัสดุเป็นชนิดเดียวกัน เหลือตัวแปสำคัญเพียงตัวเดียวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ โมเมนต์ความเฉื่อยหรือ “Moment of Inertia” หรือ “I” นั่นเอง การเพิ่มโมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of Inertia) ให้ชิ้นส่วนทำอย่างไร
สรุป โมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of Inertia) เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยต้านทานการแอ่น การโก่ง เพื่อให้ชิ้นส่วนโครงสร้างสามารถมีช่วงความยาวหรือความสูงที่มากขึ้นครับ
การแอ่น การโก่ง นั้นจะมีค่าน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับโมเมนต์ความเฉื่อย ถ้าเราเพิ่มค่า I ให้มากขึ้นการแอ่น การโก่ง ของชิ้นส่วนโครงสร้างจะลดน้อยลง กลับกันหากค่าโมเมนต์ความเฉื่อยมีน้อย การต้านทานการแอ่นหรือโก่งก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
1.ถ้าต้องการต้านทางการแอ่น การโก่ง ในแนวดิ่งต้องเพิ่มความลึกของชื้นส่วนให้มากขึ้น
2.ถ้าต้องการต้านทานการแอ่น การโก่ง ในด้านข้าง ต้องเพิ่มความกว้างของชิ้นส่วนมากขึ้น
หมายเหตุ โมเมนต์ความเฉื่อยสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มความกว้างหรือความยาวในทิศทางตั้งฉากกับแรงกระทำชิ้นส่วนโครงสร้างยังสามารถทำให้กลวงได้เพื่อลดน้ำหนักของโครงสร้างได้ด้วยนะครับ


อ้างอิงรูปภาพ
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/
https://8020.net/
https://ecourses.ou.edu/
https://upload.wikimedia.org/
https://qph.ec.quoracdn.net/
http://www.learneasy.info/
http://image.slidesharecdn.com/
http://www.setareh.arch.vt.edu/
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/
https://ecourses.ou.edu/
https://courses.cit.cornell.edu/
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/
http://www.setareh.arch.vt.edu/

ระยะยกและวางเสาเข็มคอนกรีต

ต้องทำอย่างไร มาดูกันครับ

เสาเข็มคอนกรีตเป็นส่วนสำคัญของการสร้างอาคาร ลักษณะของเสาเข็มคอนกรีตเมื่อผลิตแล้วเสร็จต้องทำการลำเลียงขนส่งเข้าสู่หน่วยงานก่อสร้าง การลำเลียงวางในแนวราบหรือแนวเอียงต้องมีหมอนรองเสาเข็มตรงตามจุดที่ถูกต้อง เพราะเสาเข็มจะเกิดพฤติกรรมแบบคาน คือ "เกิดการแอ่นตัว" ซึ่งค่าการแอ่นตัวของเสาเข็มต้องไม่เกินค่าที่ยอมให้ (L/360) เพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวในเสาเข็มคอนกรีต

ระยะยก มี 3 แบบ

ระยะยกเสาเข็มแบบ 1 จุด เพื่อทำการตอกโดยปั้นจั่น

ระยะยกเสาเข็มแบบ 2 จุด เพื่อการขนส่ง

ระยะยกเสาเข็มแบบ 3 จุด เพื่อการขนส่ง (กรณีเสาเข็มยาวมาก พบเห็นได้น้อย)

ระยะวาง มี 2 แบบ


ระยะวางเสาเข็มแบบ 2 จุด ด้วยไม้หมอน

ระยะวางเสาเข็มแบบ 3 จุด ด้วยไม้หมอน
หมายเหตุ การทำงานในการยก หรือ วาง เสาเข็มคอนกรีตในหน้างานอาจใช้การประมาณระยะได้ครับดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรระวังในการทำงานเสาเข็ม เพราะเสาเข็มคอนกรีตมีน้ำหนักมากขนย้ายลำบากต้องใช้เครื่องจักรกล เสาเข็มคอนกรีตควรมีการวางแผนเพื่อใช้งานในตำแหน่งเหมาะสมไม่กีดขวางการทำงานทั้งการตอกและการทำงานส่วนอื่นๆ  ตำแหน่งการวางเสาเข็มคอนกรีตพื้นรองรับต้องแข็งแรงเพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความชำรุดและอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือการนำเสาเข็มใหม่เข้า
การขนส่งเสาเข็มต้องยก และวางอย่างทะนุถนอม เพื่อไม่ให้เกิดการชำรุด หรือบิ่น หรือมีรอยร้าว


อ้างอิงรูปภาพ
http://zonglian.com.my/
http://www.stresscon.com.my/
http://www.pci.org/
http://4.bp.blogspot.com/
http://www.expertsmind.com/

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ท่อน้ำพีพีอาร์

มีคุณสมบัติอย่างไรมาดูกันครับ
ท่อ PP-R 80 (Polypropylene Random Copolymer 80) ผลิตจากเม็ดพลาสติกชั้นดีสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร (Food grade) ทำให้ท่อชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงต่อการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคและบริโภค
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1/4” ถึง 6” และมีความหนาแน่นของท่อพีพีอาร์สูงถึง 0.897 กรัม/ลบ.ซม. การซึมผ่านของสารไม่พึงประสงค์ทำได้ยาก
1.ชนิด SDR 11 Economy class ทนแรงดันได้ (PN) 10 บาร์ หรือ ประมาณ 145 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (Psi) ใช้สำหรับงานกับน้ำอุ่น อุณภูมิอยู่ระหว่าง 3 ถึง 60 องศาเซลเซียล ท่อสีเขียวปกติ หรือสีเขียวมีแถบสีฟ้าคาดตามยาวของเส้นท่อ ตามผู้ผลิตแต่ละราย
2.ชนิด SDR 6 High pressure class ทนแรงดันได้ (PN) 20 บาร์ หรือ ประมาณ 290 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (Psi) ใช้สำหรับงานกับน้ำร้อน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 3 ถึง 95 องศาเซลเซียล ท่อสีเขียวมีแถบสีขาว หรือแถบสีแดงคาดตามยาวของเส้นท่อ ตามผู้ผลิตแต่ละราย
3.ชนิด Fiber composite pipe SDR 6 durable class ทนแรงดันได้ (PN) 20 บาร์ หรือ 290 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (Psi) ใช้สำหรับงานกับน้ำร้อน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 3 ถึง 95 องศาเซลเซียล มีผิวที่เคลือบพิเศษลดการยืดและขยายตัวประมาณ 3 เท่า ท่อสีเขียวมีหน้าตัดท่อมีสีขาววงอยู่ด้านในด้านนอกมีแถบสีแดงคาดตามยาวของเส้นท่อ
4.ชนิด Aluminium composite pipe มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับงานที่มีการยืดตัวและขยายตัวสูง ซึ่งเกิดการการเปลี่ยนอุณภูมิภายในเส้นท่อโดยฉับพลัน ในท้องตลาดอาจหาซื้อได้ยาก ต้องสั่งผู้ผลิตเป็นการเฉพาะ ลักษณะท่อสีเขียวมีปลอกอลูมิเนียมรัดหุ้มรอบนอก
5.ข้อต่อท่อชนิดระบบสวมทาบต่อด้วยความร้อน ใช้การสอดเชื่อม (Socket fusion) ด้วยอุณหภูมิประมาณ 250 ถึง 260 องศาเซลเซียล ทำให้เนื้อท่อและข้อต่อผนึกเป็นเนื้อเดียวกัน ทนต่อแรงดันและแรงดึงสูง
6.ข้อต่อชนิดเกลียวทองเหลืองระบบขัน สามารถใช้ร่วมกับท่อชนิดอื่นได้
ท่อ PP-R 80 มีคุณสมบัติสูงกว่าท่อ PVC หลายเท่าจึงมีราคาสูงกว่ามากเหมาะกับการใช้สำหรับท่อน้ำร้อน หรือจุดต่อท่อที่ต้องการความยืดหยุ่นตัวสูง เช่น ระหว่างพื้นดินกับตัวอาคาร หรือท่อประปาหลักที่ฝังในดิน เพราะท่อและข้อต่อ PVC มีความแข็งไม่ยืดหยุ่นทำให้รั่วง่าย
สรุป ท่อพีพีอาร์ใช้ในงานประปาได้ในอุณภูมิปกติ และน้ำอุ่น หรือน้ำที่ร้อน ตามชนิดและขนาด ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับคุณสมบัติ เพื่องบประมาณก่อสร้างที่เหมาะสมนะครับ

อ้างอิงรูปจาก
http://xn--o3coaoh3d9avb8lzd.com/
http://www.banidea.com/
http://kera-term.hr/
http://www.dealplustech.com/
http://crmweb-server.boonthavorn.com/
http://www.redebras.com.br/
https://i1.24x7th.com/
https://data:image/
http://xn--o3coaoh3d9avb8lzd.com/
http://thaipp-r.com/
http://www.trachang.co.th/
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/
http://www.uhm.co.th/
http://www.steel-buildingmaterials.com/
http://www.adswow.net/
http://www.thaiind.com/

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การล้มพับทางด้านข้างของโครงสร้างเหล็ก


ป้องกันอย่างไร มาดูกันครับ
การล้มพับทางด้านข้างของโครงสร้างเหล็ก (Side sway of steel structure) เกิดจากโครงสร้างเหล็กสูญเสียเสถียรภาพจากแรงกระทำทางด้านข้างมากเกินกว่าค่าที่ยอมให้ เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว หรือแรงด้างข้างอื่นๆ เป็น 1 ใน 4 ลักษณะการวิบัติที่ทำให้อาคารสามารถพังลงได้

จุดสำคัญที่ทำให้โครงสร้างล้มพับ คือ อัตราส่วนความชะลูดประสิทธิผล (effective slenderness ratio) ของเสาอาคารมีค่าสูงเกินกว่าค่าที่ยอมให้ (ขนาดหน้าตัดเสาเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของเสา) และระยะช่วงเสาที่ห่าง ทำให้โครงสร้างต้านทานแรงทางด้านข้างได้น้อย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างเหล็ก ที่ไม่มีคานกลางยึดโยง ไม่มีผนัง (หรือมีแต่ความแข็งแรงของผนังน้อย หรืออาจล้มพับขณะติดตั้งเนื่องจากชิ้นส่วนรับแรงไม่มีการค้ำยัน ซึ่งเกิดบ่อยครั้ง)

ป้องกันการล้มพับทางด้านข้างของโครงสร้างเหล็กได้โดยชิ้นส่วน

1.จุดต่อยึดฐานรากตอม่อกับโคนเสาเหล็ก Bolt ยึดระหว่างเสาเหล็กต้องมีขนาดและความยาวเพียงพอที่จะรับแรงดึงไม่ให้ Bolt ขาด และแรงถอนของ Bolt ออกจากคอนกรีต รวมถึงความหนาของแผ่นเหล็กรองโคนเสาต้องหนาเพียงพอต่อการบิดตัวจากการเอียงล้มของเสาด้วย

2.จุดต่อยึดระหว่างโคนเสากับแผ่นเหล็กรองโคนเสา ต้องติดตั้งแผ่นเหล็กกันเสาล้ม (Stiffener plate column) ช่วยในการพลิกตัวของเสาเหล็ก หรือการล้มของเสาเหล็ก

3.จุดต่อยึดโยงโคนเสาเหล็กกับปลายเสาเหล็กอีกต้น ต้องติดตั้งคานหรือเส้นเหล็กทะแยงยึดโยง (Side bracing) อย่างน้อย 1 ช่วงเสา บริเวณช่วงมุมหัวอาคารหรือท้ายอาคาร (หากอาคารยาวมากให้เพิ่มเติมช่วงกลาง)

4.จุดยึดต่อปลายหัวเสาเหล็กกับคานหลังคาโครงถักหรือเฟรม ต้องติดตั้งเส้นเหล็กแนวนอน (Tie rod) ทะแยงยึดโยงระหว่างปลายหัวเสาอย่างน้อย 1 ช่วงเสา บริเวณช่วงมุมหัวอาคารหรือท้ายอาคาร (หากอาคารยาวมากให้เพิ่มเติมช่วงกลาง)

5.โครงสร้างแบบเฟรมเหล็ก (Frame structure) จุดยึดต่อปลายหัวเสาเหล็กกับคานหลังคา ต้องติดตั้งแผ่นเหล็กหรือเส้นเหล็กหรือคานเหล็กที่เรียกว่า ข้อต่อค้ำยัน (Haunch joint) ทุกจุด

หมายเหตุ การล้มพับทางด้านข้าง (Side sway) ไม่ได้เกิดเพียงแต่เฉพาะโครงสร้างเหล็กเท่านั้น ยังสามารถเกิดขึ้นกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กได้ด้วยครับ



แรงกดจากด้านบน


แรงดันด้านข้าง หรือแรงยกขึ้นด้านบน












อ้างอิงรูปภาพจาก
https://www.osha.gov/
http://www.mgsarchitecture.in/
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/
http://fgg-web.fgg.uni-lj.si/
https://doloffice.files.wordpress.com/
http://fgg-web.fgg.uni-lj.si/
http://images.slideplayer.com/
http://expeditionworkshed.org/
http://sweets.construction.com/
http://www.primecon.co.za/
http://www.cumbriasteelbuildings.co.uk/
http://mypageblog.com/
http://www.steelconstruction.info/
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/
http://www.steelconstruction.info/
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/
https://i.ytimg.com/
https://www.sheds.com.au/